top of page

4 ถัง คัดแยกขยะ

newscms_thaihealth_c_efgikmopw367.jpg

ที่มา : https://www.thaihealth.or.th/Content/49435-4%20ถัง%20คัดแยกขยะ%20.html

      ขยะปัจจุบันมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ ถังขยะเปียก/ย่อยสลายง่าย ถังขยะทั่วไป  ถังขยะรีไซเคิล และถังขยะอันตราย

1.ถังขยะเปีียก/ย่อยสลายง่าย

หากไม่แยก : การทิ้งถุงพลาสติก โลหะ แก้ว มูลสัตว์ลงไปรวมกับขยะย่อยสลายง่าย  จะยากต่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ  จะไม่สามารถนำเศษผักผลไม้และเศษอาหารไปทำปุ๋ยและน้ำหมักจุลินทรีย์ (EM) ได้

  • คัดแยกเศษอาหารออกจากขยะที่เป็นเศษกิ่งไม้ใบไม้ ซึ่งสามารถนำไปทำปุ๋ยหมักได้

  • หากขยะมีลักษณะแหลมมาก อย่างเช่น ไม้ลูกชิ้น ให้หักก่อนทิ้ง

  • จัดหาภาชนะที่มีฝาปิด เพื่อไม่ให้สัตว์นำเชื้อโรคเข้าไปแพร่เชื้อ

2.ขยะทั่วไป

หากไม่แยก : ขยะทั่วไปส่วนใหญ่จะถูกนำไปฝังลกลบเพราะไม่คุ้มค่าที่จะนำไปใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิลได้ ดังนั้น เมื่อจะแยกก็ต้องแยกออกมาชัดเจน ห้ามทิ้งเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล และขยะจากสวนลงไปรวมกับขยะทั่วไป

3.ถังขยะรีไซเคิล

หากไม่แยก : ทำให้เสียทรัพยากรที่ใช้ซ้ำได้ไปอย่างเปล่าประโยชน์ อีกทั้งเจ้าหน้าที่นำขยะไปคัดแยกเองได้ล่าช้า สิ้นเปลืองพลังงาน

  • แยกชนิด สี ประเภทของขยะรีไซเคิลออกจากกันเพื่อสะดวกในการใช้งานหรือขยาย

  • ขยะรีไซเคิลบางชนิดทำให้แบนได้ เพื่อประหยัดเนื้อที่และเก็บได้สะดวก

  • แยกขยะรีไซเคิลที่แตก และสภาพดีออกจากกัน

4.ถังขยะอันตราย

หากไม่แยก : อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรีโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งอาจระเบิดเมื่อเจอความร้อน และหากไม่มัดปากถุงให้เรียบร้อยก็อาจปล่อยสารพิษ

  • แยกขยะอันตรายแต่ละประเภทออกจากกัน ไม่มัดรวมและควรสวมถุงมือเพื่อป้องกันสารพิษ

  • ระวังไม่ให้แตกหักเพราะสารเคมีอาจเข้าสู่ร่างกาย

  • แยกขยะใส่ถุงและไว้ให้ห่างจากห้องครัว พื้นที่ที่มีเด็ก

  • ขยะไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กมองไม่เห็น ควรกรองด้วยถุงกรองให้เศษต่างๆรวมกัน

bottom of page